10. สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของภาคอีสาน ที่ต้องไปเยือนสักครั้ง
1.เชียงคาน จังหวัดเลย
2.สามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี
สามพันโบก จังหวัดอุบลราชธานี สถานที่ที่ถูกเรียกว่า “แกรนด์แคนยอนเมืองไทย” ด้วยมีลักษณะของความงามของแก่งหินขนาดใหญ่ในลำน้ำโขง และวิถีชีวิตริมคลองสองฝั่งโขงนั้นงดงาม จนน่ามหัศจรรย์ไม่แพ้แกรนด์แคนยอน รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา โดยสามพันโบกเป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขง เนื่องจากในช่วงฤดูน้ำหลากแก่งหินแห่งนี้จะจมอยู่ใต้บาดาล และด้วยแรงน้ำวนกัดเซาะทำให้แก่งหินกลายเป็นแอ่งเล็กใหญ่ จำนวนมากกว่า 3,000 แอ่ง หรือสามพันโบก โดยคำว่า “โบก” ภาษาท้องถิ่นนั้นแปลได้ว่า “แอ่ง” จนเป็นที่มาของชื่อ “สามพันโบก” ในช่วงหน้าแล้งสามพันโบกจะโผล่พ้นน้ำให้เห็นเป็นคล้ายภูเขากลางลำน้ำโขง ความสวยงามวิจิตรของหินที่ถูกน้ำเซาะมองเห็นเป็นภาพศิลปะ บางแอ่งใหญ่ขนาดเป็นสระว่ายน้ำ บางแอ่งขนาดเล็ก มีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามจินตนาการที่สวยงามและน่าอัศจรรย์
นอกจากนี้ ที่นี่ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืดในลำน้ำโขงตามธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุด ทำให้เกิดงานประเพณีที่น่าสนใจของชาวบ้านสองคอน คือ ประเพณีตักปลาในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ที่ปากบ้อง ไปชมการจับปลาที่แปลกประหลาดกว่าที่อื่น ๆ ด้วยการใช้สวิงขนาดใหญ่ด้ามยาวคอยตักปลาที่จะว่ายผ่านปากบ้องทวนกระแสน้ำเพื่อขึ้นไปวางไข่เป็นอีกหนึ่งประเพณีที่น่าสนใจ
สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสความงามของแก่งสามพันโบกทั้งช่วงเช้าตรู่และช่วงยามเย็นพระอาทิตย์อัสดง ก็จำเป็นต้องหาและจองที่พักล่วงหน้า โดยที่พักส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณริมหาดสลึง จุดลงเรือท่องเที่ยวนั่นเอง มีที่พักสวยหลากสไตล์ทั้งแบบเห็นวิวหาดทรายและแม่น้ำโขงแบบใกล้ชิด หรือที่พักราคาประหยัดก็มีให้บริการ ในด้านอาหารการกินก็ไม่ต้องกังวล เพราะที่หาดสลึงก็มีร้านอาหารอร่อยมากมายบริการคุณทั้งเมนูปลาแม่น้ำโขง อาหารไทยตามสั่งทั่วไป อาหารพื้นบ้าน และอาหารอีสานมากมายให้คุณเลือกชิมกันจนอิ่มหนำสำราญ
ทั้งนี้ การเที่ยวชมสามพันโบกสามารถเลือกได้สองวิธี คือ นั่งเรือชมวิวไปเรื่อย ๆ ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ไปจนถึงสามพันโบก หรือจะขับรถไปจนถึงสามพันโบกเลยก็ได้สำหรับคนที่มีเวลาเที่ยวน้อย แต่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จะนิยมนั่งเรือชมวิวสวยสองฟากฝั่ง และยังมีสถานที่เที่ยวน่าสนใจก่อนถึงสามพันโบกให้ได้ตื่นตาตื่นใจอีกด้วย เช่น หาดสลึง หาดทรายริมฝั่งแม่น้ำมูล ในฤดูแล้งน้ำโขงลดลงจะเผยมีหาดทรายสวยงาม เหมาะแก่การนั่งพักผ่อนสบาย ๆ ยามที่น้ำแห่งจัด ๆ จะเผยหาดทรายยาวตลอดแนวถึง 860 เมตรเลยทีเดียว, ปากบ้อง จุดที่แม่น้ำโขงไหลพาดปะทะแนวเทือกเขาภูพานตอนปลาย การปะทะกันของพลังธรรมชาติก่อให้เกิดภูมิประเทศแสนมหัศจรรย์ ลักษณะเหมือนคอขวดเป็นจุดที่แม่น้ำโขงแคบที่สุด ส่วนที่แคบที่สุดวัดได้กว้างเพียง 56 เมตร
หินหัวพะเนียง เกาะหินขนาดใหญ่ขวางกลางแม่น้ำโขง ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย หรือสองคนในภาษาท้องถิ่นจึงเป็นที่มาของชื่อบ้านสองคอน หินหัวพะเนียงรูปร่างคล้ายอุปกรณ์ประกอบคันไถไม้ (ในภาษาไถเหล็ก) ชาวบ้านจึงเรียกว่า หินหัวพะเนียง, ผาหินศิลาเดช ร่อยรอยประวัติศาสตร์สมัยฝรั่งเศสเรืองอำนาจในแถบอินโดจีน ฝรั่งเศสเรืองอำนาจในแถบอินโดจีน ฝรั่งเศสได้นำเรือกลจักรไอน้ำขนส่งสินค้าระหว่างหลี่ผี-เวียงจันทน์ ผ่านมายังไทย มีการสลักตัวเลขที่หน้าผาหินบอกระดับน้ำในแม่น้ำโขง เพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ และหาดหงส์ เนินทรายแม่น้ำโขงขนาดมหึมาเกิดจากการพัดพาของน้ำและนำตะกอนทรายมาทับถมกันจนทำให้เป็นพื้นทรายกว้างใหญ่ ช่วงเวลาที่นิยมมาเที่ยวจะเป็นช่วงก่อนพระอาทิตย์อัสดง แสงเหลืองส้มอ่อน ๆ สะท้อนกับพื้นทรายสีขาวระยิบระยับสวยงามที่สุด
3.อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ตั้งอยู่บ้านตาเป็ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบด้วยโบราณสถานสำคัญคือ ปราสาทหินพนมรุ้ง ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว สูงประมาณ 200 เมตร (คำว่า พนมรุ้ง หรือ วนํรุง เป็นภาษาเขมรแปลว่า ภูเขาใหญ่) โดยเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย มีการบูรณะก่อสร้างต่อเนื่องกันมาหลายสมัย ตั้งแต่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงพุทธศตวรรษที่ 17 และในพุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม ได้หันมานับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน เทวสถานแห่งนี้จึงได้รับการดัดแปลงเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาในช่วงนั้น
สำหรับปราสาทพนมรุ้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยอาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่ตั้งเรียงรายขึ้นไปจากลาดเขาทางขึ้นจนถึงปรางค์ประธานบนยอด อันเปรียบเสมือนวิมานที่ประทับของพระศิวะ บันไดทางขึ้นช่วงแรกทำเป็นตระพัง (สระน้ำ) สามชั้นผ่านขึ้นมาสู่พลับพลาชั้นแรก จากนั้นเป็นทางเดินซึ่งมีเสานางเรียงปักอยู่ที่ขอบทางทั้งสองข้างเป็นระยะ ๆ ถนนทางเดินนี้ ทอดไปสู่สะพานนาคราช ซึ่งเปรียบเสมือนจุดเชื่อมต่อระหว่างดินแดนแห่งมนุษย์และสรวงสวรรค์ ด้านข้างของทางเดินทางทิศเหนือมีพลับพลาสร้างด้วยศิลาแลง 1 หลัง เรียกกันว่า โรงช้างเผือก สุดสะพานนาคราชเป็นบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งทำเป็นชานพักเป็นระยะ ๆ รวม 5 ชั้น สุดบันไดเป็นชานชลาโล่งกว้าง ซึ่งมีทางนำไปสู่สะพานนาคราชหน้าประตูกลางของระเบียงคด อันเป็นเส้นทางหลักที่จะผ่านเข้าสู่ลานชั้นในของปราสาท และจากประตูนี้ยังมีสะพานนาคราชรับอยู่อีกช่วงหนึ่งก่อนถึงปรางค์ประธาน
ปรางค์ประธาน ตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป คือ ห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เชื่อมอยู่ทางด้านหน้าที่ส่วนประกอบของปรางค์ประธานตั้งแต่ฐานผนังด้านบนและด้านล่าง เสากรอบประตู เสาติดผนัง ทับหลัง หน้าบัน ซุ้มชั้นต่าง ๆ ตลอดจนกลีบขนุนปรางค์ล้วนสลักลวดลายประดับทั้งลวดลายงดงาม ที่ทับหลังและหน้าบันด้านหน้าปรางค์ประธาน ลักษณะของลวดลายและรายละเอียดอื่น ๆ ช่วยให้กำหนดได้ว่าปรางค์ประธานพร้อมด้วยบันไดทางขึ้นและสะพานนาคราชสร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17สำหรับปราสาทพนมรุ้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยอาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่ตั้งเรียงรายขึ้นไปจากลาดเขาทางขึ้นจนถึงปรางค์ประธานบนยอด อันเปรียบเสมือนวิมานที่ประทับของพระศิวะ บันไดทางขึ้นช่วงแรกทำเป็นตระพัง (สระน้ำ) สามชั้นผ่านขึ้นมาสู่พลับพลาชั้นแรก จากนั้นเป็นทางเดินซึ่งมีเสานางเรียงปักอยู่ที่ขอบทางทั้งสองข้างเป็นระยะ ๆ ถนนทางเดินนี้ ทอดไปสู่สะพานนาคราช ซึ่งเปรียบเสมือนจุดเชื่อมต่อระหว่างดินแดนแห่งมนุษย์และสรวงสวรรค์ ด้านข้างของทางเดินทางทิศเหนือมีพลับพลาสร้างด้วยศิลาแลง 1 หลัง เรียกกันว่า โรงช้างเผือก สุดสะพานนาคราชเป็นบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งทำเป็นชานพักเป็นระยะ ๆ รวม 5 ชั้น สุดบันไดเป็นชานชลาโล่งกว้าง ซึ่งมีทางนำไปสู่สะพานนาคราชหน้าประตูกลางของระเบียงคด อันเป็นเส้นทางหลักที่จะผ่านเข้าสู่ลานชั้นในของปราสาท และจากประตูนี้ยังมีสะพานนาคราชรับอยู่อีกช่วงหนึ่งก่อนถึงปรางค์ประธาน
ภายในลานชั้นในด้านตะวันตกเฉียงใต้ มีปรางค์ขนาดเล็ก 1 องค์ ไม่มีหลังคา จากหลักฐานทางศิลปกรรมที่ปรากฏ เช่น ภาพสลักที่หน้าบัน ทับหลัง บอกให้ทราบได้ว่าปรางค์องค์นี้สร้างขึ้นก่อนปรางค์ประธาน มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 16 นอกจากนี้ ยังมีฐานปรางค์ก่อด้วยอิฐซึ่งมีอายุเก่าลงไปอีก คือ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 อยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์ประธาน และที่มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยศิลาแลง มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกับพลับพลาที่สร้างด้วยศิลาแลงข้างทางเดินที่เรียกว่า “โรงช้างเผือก”
ทั้งนี้ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 (นับแบบไทย) ของทุกปีจะเกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์ คือ แสงอาทิตย์จะทำมุมลอดทะลุประตูทั้ง 15 บานของปราสาทได้อย่างพอดี ชาวบ้านจะเดินเท้าขึ้นมาเพื่อชมความอลังการที่ผสานระหว่างธรรมชาติและสิ่งก่อสร้างของบรรพชน โดยอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น.
4.พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม
พระธาตุพนม หรือ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร วัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ที่เป็นปูชนียสถานที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาช้านาน ซึ่งผลจากการขุดค้นทางโบราณคดีลงความเห็นว่าพระธาตุพนมสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1200-1400 ตามตำนานกล่าวว่าผู้สร้างคือ พระมหากัสสปะ พระอรหันต์ 500 องค์ และท้าวพระยาเมืองต่าง ๆ ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ ลักษณะของสถาปัตยกรรมมีแหล่งที่มาที่เดียวกันกับปราสาทของขอม และได้ทำการบูรณะเรื่อยมา ในปี พ.ศ. 2485 ได้รับการยกฐานะเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกขึ้นเป็น “วรมหาวิหาร”
แต่ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เวลา 19.38 น. พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงทั้งองค์ เนื่องจากความเก่าแก่ขององค์พระธาตุพนม และประจวบกับระหว่างนั้นฝนตกพายุพัดแรงติดต่อกันมาหลายวัน ประชาชนทั้งประเทศได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิม การก่อสร้างนี้เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2522 นอกจากพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในองค์พระธาตุแล้ว ยังมีของมีค่ามากมายนับหมื่นชิ้น โดยเฉพาะฉัตรทองคำบนยอดพระธาตุเป็นฉัตรทองคำที่มีน้ำหนักถึง 110 กิโลกรัม
ปัจจุบันองค์พระธาตุมีฐานกว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.60 เมตร เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสูงแลดูสง่างาม อีกทั้งยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวนครพนม เป็นที่เคารพบูชาของชาวไทยและชาวลาว โดยเชื่อกันว่าหากใครได้มานมัสการครบ 7 ครั้ง จะเป็นลูกพระธาตุถือเป็นสิริมงคล แก่ชีวิตและมีความเจริญรุ่งเรือง นอกจานี้ ในวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี จะมีการจัดงานนมัสการองค์พระธาตุขึ้นเป็นประจำ
5. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย
ภูหลวง มีความหมายว่าเขาที่สูงใหญ่ หรือหมายถึงภูเขาของพระเจ้าแผ่นดิน เกิดจากการยกตัวของพื้นผิวโลกและดินส่วนที่อ่อนพัดพาลงสู่พื้นที่ส่วนต่ำ ภูหลวงประกาศให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2517 มีพื้นที่ประมาณ 560,593 ไร่ สภาพทั่วไปเป็นพื้นที่ราบสูง อากาศเย็นตลอดปี ตั้งอยู่ในบริเวณท้องที่อำเภอวังสะพุง อำเภอภูเรือ อำเภอด่านซ้าย และอำเภอภูหลวง ฤดูกาลบนภูหลวงมี 3 ฤดู เหมือนพื้นราบแต่ระดับอุณหภูมิต่างกัน
ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20-24 องศาเซลเซียส จะมีดอกไม้ที่มีสีสันเจิดจ้าสวยงามเช่นเอื้องตาเหิน กล้วยไม้ป่าดอกขาว กุหลาบขาว และกุหลาบแดง ส่วนฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม อุณหภูมิใกล้เคียงหรือสูงกว่าหน้าร้อนเล็กน้อยจะมีดอกไม้ป่าดอกเล็ก ๆ สีชมพูอมม่วงขึ้นแซมตามทุ่งหญ้าและเทียนน้อย ขณะที่ฤดูหนาวอุณหภูมิลดลงมาก เฉลี่ย 0-16 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม บางวันอุณหภูมิลดลงถึง -4 องศาเซลเซียส จะมีก่วมแดงหรือที่รู้จักกันว่าเมเปิล จะเปลี่ยนสีแดงแล้วผลัดใบ ตามพื้นดินจะเห็นต้นกระดุมเงินและรองเท้านารีปีกแมลงปอขึ้นอยู่บนก้อนหินและตามพื้นป่าดิบเขา
ด้านตะวันออกของเทือกภูหลวงมีการค้นพบซากหินรอยเท้าไดโนเสาร์อายุกว่า 120 ล้านปี นอกจากนี้ ยังมีป่าหลากชนิด เช่น ป่าผลัดใบหรือป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา แต่ป่าที่โดดเด่นที่สุดบนภูหลวง คือ ป่าสนสองใบ สนสามใบ และทุ่งหญ้าตามพื้นที่ราบ เนินเขา และลานหิน โดยเส้นทางศึกษาธรรมชาติภูหลวงเป็นเส้นทางเดินต่อเนื่องกัน เริ่มจากโหล่นมน ซึ่งเป็นบริเวณที่พักนักท่องเที่ยวผ่านป่าดงดิบ ลำห้วยป่าสนสามใบ และดอกไม้สลับทุ่งหญ้าระยะทางประมาณ 2.3 กิโลเมตร ถึงโหล่นสาวแยงคิง จากนั้นไปเป็นเส้นทางเดินไปยังโหล่นหินแอ่วขัน ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ผ่านดงดอกไม้หลายชนิด ต่อไปเป็นทางเดินสู่ลานหินโหล่นแต้ ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร จะพบกุหลาบขาวและกล้วยไม้ป่าต่าง ๆ บริเวณผาโหล่นแต้ สามารถชมวิวทิวทัศน์ของภูหอ ภูกระดึง ภูยองภู และภูขวาง นอกจากนี้ ยังมีจุดท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ ผากบ ผาชมวิว โหล่นช้างผึ้ง ซุ้มงูเห่า และน้ำตกสายทอง
6. โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ จังหวัดยโสธร
โบสถ์คริสต์บ้านซ่งแย้ ตั้งอยู่ที่บ้านหนองซ่งแย้ หมู่ 2 ตำบลคำเตย อำเภอไทยเจริญ ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 45 กิโลเมตร (ตามทางหลวงหมายเลข 2169 ยโสธร-เลิงนกทา) เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยว Unseen in Thailand เป็นโบสถ์คริสต์ที่สร้างด้วยไม้ขนาดใหญ่ ใช้เสาไม้ทั้งเล็กและใหญ่กว่า 300 ต้น และไม้มุงหลังคา 80,000 แผ่น เป็นโบสถ์คริสต์สร้างด้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีอายุกว่า 50 ปี และตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา ทางจังหวัดยโสธรได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดพิธีสมรสหมู่แบบคาทอลิกให้กับคู่บ่าวสาวในวันวาเลนไทน์ของทุกปี ณ โบสถ์แห่งนี้ด้วย
สำหรับประวัติความเป็นมา มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ในปี ค.ศ. 1908 มีผู้หนีตายอพยพจากที่ต่าง ๆ กันเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่นี้รวม 5 ครอบครัว ซึ่งหนีมาด้วยสาเหตุเดียวกัน คือ ถูกกล่าวหาว่าเป็นผีปอบ ชาวบ้านในหมู่บ้านจึงรุมทำร้ายและขับไล่ จากนั้นได้เดินทางไปหา บาทหลวงเดชาแนล และบาทหลวงออมโบรซีโอ ที่บ้านเซซ่ง ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร ขอให้ไปช่วยขับไล่ผีปิศาจที่สิงสู่อยู่กับตนและครอบครัว ซึ่งบาทหลวงทั้ง 2 ท่าน ก็ยอมเข้าป่าลึกไปตามคำขอ เมื่อรู้สึกดีขึ้น ทั้ง 5 ครอบครัว จึงเข้านับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ต่อมาบ้านหนองซ่งแย้ มีผู้คนอพยพไปอยู่มากขึ้น ในปี ค.ศ. 1909 ชาวบ้านปลูกกระต๊อบฝาขัดแตะเล็ก ๆ ใช้ประกอบพิธีทางศาสนา นับว่าเป็นจุดกำเนิดวัดซ่งแย้ หรือชื่ออย่างเป็นทางการภาษาละตินว่า วัดอัครเทวดามิคาแอล ตามชื่อนักบุญองค์สำคัญ เป็นภาษาอังกฤษ คือ โบสถ์ เซนต์ไมเคิล เป็นภาษาฝรั่งเศส คือ โบสถ์แซงต์ มิเชล โดยมี บาทหลวงเดชาแนล เป็นอธิการโบสถ์คนแรก และคนในบ้านหนองซ่งแย้ซึ่งล้วนแต่เป็นชาวไทยอีสาน ได้มาเข้ารีตถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเกือบทั้งหมด
หลังจากนั้นได้มีการสร้างอาคารโบสถ์ใหม่หลายครั้ง โบสถ์ไม้เนื้อแข็งหลังปัจจุบันนี้ เป็นโบสถ์หลังที่ 4 วางแผนก่อสร้างปี ค.ศ. 1936 ชาวบ้านพากันรวบรวมไม้ลงมือสร้างปี ค.ศ. 1947 ตัวโบสถ์รูปทรงที่สร้างขึ้นมีลักษณะแบบศิลปะไทย กว้าง 16 เมตร ยาว 57 เมตร จัดเป็นโบสถ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ใช้แผ่นไม้เป็นแป้นมุง หลังคา 80,000 แผ่น ใช้เสาขนาดต่าง ๆ กันถึง 360 ต้น ส่วนใหญ่เป็นเสาไม้เต็ง เสาในแถวกลางมีขนาดใหญ่ยาวที่สุดมี 260 ต้น สูงจากพื้นดินกว่า 10 เมตร พื้นแผ่นกระดานเป็นไม้แดงและไม้ตะเคียนขนาดใหญ่ ม้านั่งไม้จุคนได้กว่าพันคน ระฆังโบสถ์มีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบ 2 ฟุต อยู่ในหอระฆังสูงที่สร้างแบบหอระฆังตามวัดไทยทั่วไป แต่แปลกตรงที่แยกต่างหากจากโบสถ์ และเนื่องจากไม้ที่ได้รวบรวมมามีจำนวนมาก จึงได้นำไม้ที่เหลือมาสร้างโรงเรียนบ้านซ่งแย้พิทยา
7. แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จังหวัดอุดรราชธานี
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง หรือ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี มีพื้นที่ประมาณ 25 ไร่เศษ จัดแสดงวิถีชีวิตของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์อายุราว 1,822-4,600 ปี เป็นแหล่งท่องเที่ยวให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ ย้อนหลังไปกว่า 5,000 ปีการเดินทางไป พิพิธภัณฑ์นี้ได้แบ่งการจัดแสดงออกเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ ได้แก่
1. การจัดแสดงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่อาคารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล โดยแบ่งตามห้องจัด แสดง เช่น ห้องจัดแสดงขั้นตอนการสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์, ห้องสมัยก่อนประวัติศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ห้องจัดแสดงโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมบ้านเชียง จากบ้านนาดี ตำบลพังงา อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี จากบ้านนาโก ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย และจากจังหวัดหนองคาย, ห้องจัดแสดงโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ จากบ้านธารปราสาท อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา และห้องจัดแสดงโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมบ้านเชียง จากหลายแหล่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ที่จังหวัดอุดรธานี และแหล่งโบราณคดีใกล้เคียง
2. การจัดแสดงสมัยก่อนประวัติศาสตร์วัฒนธรรมบ้านเชียง ที่อาคารสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี แบ่งการจัดแสดงออกตามห้องดัง ได้แก่ ห้องโลหะกรรม จัดแสดงเกี่ยวกับการขุดค้นทางโบราณคดีบ้านเชียง และเรื่องราวของการทำสำริดและเหล็ก รวมถึงแหล่งแร่โบราณตามแหล่งต่าง ๆ ด้วย, ห้องเครื่องปั้นดินเผา เป็นห้องที่จัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่องปั้นดินเผา การกำหนดอายุลักษณะเครื่องปั้นดินเผาแบบต่าง ๆ ภาชนะดินเผากับประเพณีการฝังศพ ตลอดจนเทคนิคการผลิตภาชนะดินเผาที่บ้านเชียง, ห้องบ้านเชียง การค้นพบสำริดที่สาบสูญ เป็นนิทรรศการที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2525-2529 แสดงผลการสำรวจขุดค้น ศึกษา และวิจัยหลักฐานทางโบราณคดี ที่ได้จากการขุดค้นร่วมกันระหว่างกรมศิลปากรและมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่บ้านเชียง เมื่อปี พ.ศ. 2517-2518 และห้องบ้านเชียงวันนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลและวัตถุพื้นบ้านของชาวบ้านเชียงในปัจจุบัน ซึ่งมีบรรพบุรุษเป็นชาวพวน มาจากเมืองเชียงขวาง ประเทศลาว มาตั้งถิ่นฐานที่บ้านเชียงตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์หรือเมื่อประมาณ 200ปีมาแล้ว ซึ่งเดิมมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก แต่เมื่อมีการขุดพบโบราณคดีที่บ้านเชียง สังคมและการดำรงชีวิตส่วนหนึ่งได้เปลี่ยนแปลงไป
8. ดินแดนแห่งทุ่งดอกกระเจียวงาม จังหวัดชัยภูมิ
จังหวัดชัยภูมิ ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่นักท่องเที่ยวอยากจะไปเยือนเมื่อดอกกระเจียวผลิบาน โดยเฉพาะพื้นที่ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม และ อุทยานแห่งชาติไทรทอง ซึ่งเป็นที่ตั้งของทุ่งดอกกระเจียวป่าสีชมพูสีสันสดใสงดงามตัดกับสีเขียวของลำต้นและใบหญ้า ขึ้นแทรกอยู่เป็นระยะท่ามกลางต้นหญ้าและและป่าไม้นานาชนิด
สำหรับ อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเทพสถิต และอำเภอซับใหญ่ จังหวัดชัยภูมิ มีสภาพป่าสมบูรณ์ เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของลุ่มน้ำชีและแม่น้ำป่าสัก มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง โดยเฉพาะทุ่งดอกกระเจียวที่มีดอกสีชมพูอมม่วงชูดอกสะพรั่งในช่วงต้นฤดูฝนเท่านั้น คือ เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมของทุกปี โดยนับเป็นพันธุ์ไม้ประจำถิ่นที่ขึ้นมากที่สุดในประเทศไทย ณ แห่งนี้ ปกติจะพบขึ้นกระจายทั่วไปตั้งแต่ลานหินงามจนถึงจุดชมวิวสุดแผ่นดิน 1 กิโลเมตร ซึ่งทางอุทยานฯ มีการทำสะพานทางเดิน สำหรับนักท่องเที่ยวเดินไปชมความงามของทุ่งดอกกระเจียวไว้เป็นส่วน ๆ พร้อมทั้งไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวลงเหยียบบนพื้นดินโดยตรง เพราะนอกจากจะไปเหยียบย่ำทำลายต้นดอกกระเจียวแล้วยังอาจเป็นการทำลายระบบนิเวศน์ของธรรมชาติ
อุทยานแห่งชาติไทรทอง อยู่ในท้องที่อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอเทพสถิต อำเภอภักดีชุมพล และอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ มีอาณาเขตติดต่อกับอุทยานแห่งชาติป่าหินงามและอุทยานแห่งชาติภูแลนคา เป็นผืนป่าบนเทือกเขาพังเหย ในช่วงต้นฤดูฝนนอกจากผืนป่าจะเขียวชอุ่มชุ่มชื้นไปด้วยพรรณไม้น้อยใหญ่แล้ว ที่นี่ยังงดงามโดดเด่นด้วยดอกกระเจียวที่ผลิบานอยู่เต็มท้องทุ่ง เรียกชื่อว่า ทุ่งบัวสวรรค์ ที่มีทั้งดอกสีชมพูและสีขาว ซึ่งดอกกระเจียวสีขาวนี้หาดูได้ไม่ง่ายนัก โดยทุ่งดอกกระเจียวจะมีมากบริเวณสันเขาพังเหยด้านทิศตะวันตก มีทั้งหมด 5 ทุ่งใหญ่ ๆ อยู่ห่างที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 12 กิโลเมตร จะออกดอกสวยงามเต็มทุ่งประมาณช่วงฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน-กลางเดือนสิงหาคมของทุกปี จะออกดอกเต็มสะพรั่งช่วงใดนั้นขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝนของแต่ละปี ทางอุทยานฯ ได้จัดให้มีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่นำทางพานักท่องเที่ยวเดินศึกษาธรรมชาติ และชมความงามของดอกกระเจียวที่บานชูช่อสีสดสวยงามแซมหญ้าเพ็ก ท่ามกลางแมกไม้ ขุนเขา และไอหมอกที่เย็นสบาย
9. มอหินขาว จังหวัดชัยภูมิ
มอหินขาว หรือ สโตนเฮนจ์เมืองไทย ตั้งอยู่ที่บ้านวังคำแคน ตำบลท่าหินโงม ห่างจากตังเมืองชัยภูมิไปทางทิศเหนือประมาณ 40 กิโลเมตร ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติภูแลนคาด้านทิศเหนือ เป็นเนินเขาที่มีหินทรายสีขาวขนาดมหึมา ตั้งตระหง่านโพล่พ้นต้นหญ้า ยามต้องแสงแดดในเวลากลางวัน และช่วงเวลาหลังฝนตกไม่นานจะมองเห็นก้อนหินสีขาวเด่นชัดจากระยะไกล เป็นที่สะดุดตาแก่ผู้พบเห็น
จากหลักฐานจากกรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับจังหวัดชัยภูมิ เริ่มสำรวจเมื่อปี 2545 พบว่า การเรียงลำดับชั้นหินและอายุที่ได้จากซากดึกดำบรรพ์ต่าง ๆ มีอายุระหว่าง 195-175 ล้านปี เพราะการสะสมของตะกอนทราย แป้ง และดินเหนียวหลังจาก 65 ล้านปีผ่านมา เกิดการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกและแรงบีบด้านข้างทำให้มีการคดโค้ง แตกหัก ผุพัง และการกัดเซาะ ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน ก่อให้เกิดลักษณะของเสาหินและแท่งหินอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ลักษณะด้านกายภาพของพื้นที่มอหินขาว ประกอบด้วยกลุ่มหินแบบเสาหิน แท่นหิน และลานหิน ซึ่งมีรูปร่างและลักษณะแตกต่างกันออกไปตามจินตนาการของผู้พบเห็น ลักษณะเป็นก้อนหินใหญ่แปลกตา หาดูยาก รูปร่างคล้ายเห็ด เรือ ช้าง เต่า และเจดีย์ กระจายอยู่ทั่งไปบนเนินเขาสูง
นอกจากนี้ ยังมีเสาหินใหญ่ตั้งเรียงรายเป็นแถว มอหินขาวจัดเป็นจุดชมวิวที่สวยงามแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ รวมทั้งบริเวณรอบ ๆ นั้นยังเป็นพื้นที่ศึกษาสังคมของพันธุ์พืชต่าง ๆ สัตว์ป่าขนาดเล็ก แมลง และเป็นแหล่งป่าต้นน้ำลำธารภูแลนคา ซึ่งชาวบ้านทำฝายกั้นน้ำกักเก็บไว้ใช้
10. ภูกระดึง จังหวัดเลย
ภูกระดึง หรือ อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่ได้รับความนิยมมากแห่งหนึ่งของเมืองไทยเพราะมีสภาพธรรมชาติสมบูรณ์ประกอบด้วยระบบนิเวศและภูมิประเทศหลากหลายทั้งทุ่งหญ้า ป่าสนเขา ป่าดิบ น้ำตกและหน้าผาชมทิวทัศน์ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวแวะเวียนไปสัมผัสความงามของสถานที่แห่งนี้มากมาย ซึ่งเส้นทางขึ้นภูกระดึงจุค่อนข้างชัน นักท่องเที่ยวจะต้องค่อย ๆ เดินขึ้นเขาไปเรื่อย ๆ โดยจะมีจุดแวะพักที่ “ซำ” หมายถึง บริเวณที่มีแหล่งน้ำใต้ดินผุดขึ้นมาแต่ละจุดมีเครื่องดื่มและอาหารบริการ ทั้งหมดนี้เป็นแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวปรารถนาจะเป็นผู้พิชิตยอดภูกระดึงสักครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อทดสอบแรงกายและแรงใจ
สำหรับจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจบนภูกระดึง เช่น ผานกแอ่น เป็นจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นที่งดงามมากแห่งหนึ่ง สามารถมองเห็นทิวทัศน์เบื้องล่างซึ่งเป็นท้องทุ่งและเทือกเขา ริมทางเดินใกล้ผานกแอ่นมีดอกกุหลาบป่าขึ้นเป็นดงใหญ่ ซึ่งบานสะพรั่งในเดือนมีนาคม-เมษายน, ผาหล่มสัก เป็นลานหินกว้าง และมีสนต้นใหญ่อยู่ใกล้กับชะง่อนหินที่ยื่นออกไปจากหน้าผา เป็นสถานที่ชมพระอาทิตย์ตกได้ชัดเจนที่สุด จึงทำให้นักท่องเที่ยว ช่างภาพนิยมไปถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ผาแห่งนี้ถือเป็นสัญลักษณ์ของภูกระดึง
ป่าปิด เป็นพื้นที่ที่มีความเปราะบางปกคลุมด้วยป่าดงดิบ มีลำธารหลากสายและน้ำตกสวยงามมากมาย ได้แก่ น้ำตกขุนพอง และน้ำตกผาน้ำผ่า เป็นต้น เปิดให้บริการแก่นักท่องเที่ยวในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมของทุกปี นอกจากนี้ ภูกระดึงยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ด้วย เช่น ผาหมากดูก, น้ำตกวังกวาง, น้ำตกเพ็ญพบใหม่, น้ำตกโผนพบ, น้ำตกเพ็ญพบ, น้ำตกถ้ำใหญ่, น้ำตกธารสวรรค์, น้ำตกถ้ำสอเหนือ, น้ำตกถ้ำสอใต้ และสระอโนดาต เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น